ที่มา: TrendWatching.com
งานวิชาการและห้องสมุด กองวิจัยการตลาดการท่องเที่ยว ททท.
STATE OF PLACE
Consumers look to reclaim their locale: ผู้บริโภคทวงคืนพื้นที่ชุมชน
แม้ว่าเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงผู้คนทั่วโลกและเทรนด์ของการ Remote work จะทำให้เส้นแบ่งขอบเขตระหว่างประเทศชัดเจนน้อยลงเรื่อย ๆ แต่สำหรับคนทั่วไปนั้น พื้นที่รอบตัวยังมีความสำคัญอยู่ ทั้งในระดับชุมชน ภูมิภาค หรือประเทศ การล็อคดาวน์ในช่วงภาวะโรคระบาดทำให้เกิดการเรียกร้องที่จะพัฒนาพื้นที่ชุมชนมากขึ้น โดยผู้คนต้องการให้พื้นที่ที่ตนเองอยู่อาศัยน่าอยู่ มีความเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีความแข็งแกร่งในการเผชิญหน้ากับวิกฤตมากกว่าเดิม ในขณะที่ผู้บริโภคชื่นชมแบรนด์ที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่พวกเขาจะชอบมากกว่าถ้าแบรนด์ได้มีส่วนในการช่วยให้พื้นที่เหล่านั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
1. LOCALE MORALE
Made-to-measure communal improvements: สนับสนุนให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดี
ASICS แบรนด์รองเท้ากีฬาจับมือร่วมกับ Mind it เปิดตัวโปรเจคต์ ‘Uplifting Retford’ โปรเจคต์ส่งเสริมการเยียวยาสุขภาพจิตใจด้วยการออกกำลังกาย โปรเจคดังกล่าวถูกจัดขึ้น ณ เมือง Retford หลังการสำรวจพบว่าประชากรเมืองนี้มีความเครียดสะสมเป็นอันดับต้น ๆ ของอังกฤษ ในปีนี้ แบรนด์จะต้องมองเห็นปัญหาของลูกค้าในชุมชนและมีส่วนสนับสนุนให้พวกเขามีชีวิตเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จงสำรวจความต้องการในแต่ละพื้นที่และลงมือปฏิบัติ
2. GLOBAL GROUNDED LOCALLY
Boost offline shopping and local connections: ธุรกิจจะเติบโตได้ต้องไม่ลืมหาเพื่อนร่วมทาง
บริษัทพัฒนาเว็บไซต์ Yelp ร่วมมือกับ Chasing Paper บริษัทออกแบบภายใน วางจำหน่าย Wallpaper ติดผนังที่รวบรวมภาพร้านค้าและธุรกิจรายย่อยในซานฟรานซิสโกและนิวยอร์ก โดยรายได้จะถูกนำไปช่วยองค์กรไม่แสวงหากำไรที่สนับสนุนธุรกิจขนาดย่อม
ในยุคที่การซื้อขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์เต็มไปด้วย Promotion จัดส่งฟรี ผู้ประกอบการขนาดย่อมมักประสบกับความอย่างลำบาก แต่ในขณะเดียวกันเทรนด์การบริโภคแบบมีจิตสำนึกที่เริ่มกลับได้รับความนิยมมากขึ้น ธุรกิจของคุณสามารถช่วยทำอะไรเพื่อกระตุ้นยอดขายให้ธุรกิจขนาดย่อมและธุรกิจชุมชนได้บ้าง
3. EQUITY ZONE
Become a community catalyst: สังคมเสมอภาคที่เป็นของเราทุกคน
John Legend นักร้องนักแต่งเพลงชื่อดังจัดตั้ง ‘Humanlevel’ ขึ้นมาเมื่อปลายปี 2021 เพื่อคอยให้ความช่วยเหลือผู้นำชุมชนที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานทางสังคมที่ควรจะได้รับเพราะกลไกและโครงสร้างทางสังคมที่ถูกกีดกัน
เป็นที่รู้กันว่า COVID-19 เข้ามาลดทอนความเชื่อมั่นของประชาชนที่เคยมีต่อภาครัฐ 2 ใน 3 ของคนทั่วโลกหันกลับมา ‘เชื่อใจ’ ผู้นำชุมชนมากกว่านายทุนธุรกิจขนาดใหญ่ หรือผู้บริหารประเทศ ผู้บริโภคคุ้นเคยกับการที่แบรนด์มาเล่นประเด็นข่าวใหญ่แล้ว แต่ถ้าอยากเห็นผลจริง ๆ ต้องมีการดำเนินการในระดับรากหญ้า แบรนด์ของคุณสามารถทำเช่นนี้ได้หรือไม่
4. COMMUNAL CURRENCIES
Keeping it in the community: ให้เรื่องเงินเป็นเรื่องของพวกเรา
แพลตฟอร์ม Community Inclusion Currencies (CICs) ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาสกุลเงินระดับประเทศที่ผันผวนและเพิ่มทางเลือกด้านการเงินให้กับท้องถิ่น สกุลเงินท้องถิ่นที่ว่านี้สามารถชำระหนี้ตามกฎหมาย โดยจะผลักดันให้คนในชุมชนซื้อ ใช้ และแลกเปลี่ยนของซึ่งกันและกัน สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งจากฐานรากทางเศรษฐกิจ
เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ส่งสัญญาณว่าผู้คนเริ่มหันมาหวงแหนชุมชนมากขึ้นและต่อจากนี้ไปอาจเกิดสกุลเงินท้องถิ่นมากมายเพื่อเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
SOLACE AS A SERVICE
The emergence of conscious convenience: ทั้งสะดวกและสบายใจ
วิกฤตโรคระบาดเร่งทำให้การเปลี่ยนแปลงดิจิทัลเร็วขึ้น โดยเฉพาะ E-commerce และการส่งเดลิเวอรี่แบบเรียลไทม์ แนวคิดเศรษฐกิจที่มีจุดประสงค์เพื่อความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Purpose economy) กำลังต้องเผชิญกับความต้องการความสะดวกปลอดภัยของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นแม้จะทำให้เกิดความไม่สบายใจลึกๆ จากการที่ต้องทำร้ายสิ่งแวดล้อมเพื่อแลกกับความสะดวก
สิ่งที่แบรนด์สามารถทำได้ ณ ขณะนี้ คือการส่งมอบสินค้าและบริการที่ให้ทั้งความสะดวกและความสบายใจจากการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภค ตัวอย่างคืออะไรบ้างเรามาดูกันเลย
5. SECOND SOULS
Reuse and reimagine over repeat purchase: ซื้อใหม่แต่ใช้ซ้ำ
Camaïeu แบรนด์แฟชั่นสัญชาติฝรั่งเศส ปล่อยแคมเปญ ‘yoyo guarantee’ เปิดโอกาสให้ลูกค้าเปลี่ยนไซส์กางเกงยีนส์ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยกางเกงเก่าที่ลูกค้านำกลับมาคืนจะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการอัปไซเคิลให้กลายเป็นเครื่องแต่งกายชิ้นใหม่
ในยุคที่สินค้า on-demand มีมากมายเต็มเป็นหมด ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะมองหาแบรนด์ที่สามารถช่วยลดความรู้สึกผิดจากการบริโภคที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แบรนด์ของคุณจะเข้ามาช่วยตอบสนองความต้องการนี้ได้หรือไม่
6. CIRCULARITY SUBSCRIBED
Dealing with life’s hardships sustainably: เรียกคืนรอยยิ้มให้ผู้ที่ยากลำบาก
Reeddi สตาร์ทอัพจากแคนาดาที่ผลิตแบตเตอรี่พกพา วางแจกตามร้านค้าในย่านยากจนของเมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย ให้สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานขนาดย่อมภายในบ้านได้ ในอนาคต Reeddi ได้วางแผนติดตั้งแผงโซลาร์ให้กับร้านค้าที่ร่วมโครงการเพื่อความสะดวกในการชาร์จแบตไว้ใช้งานใหม่อีกด้วย
ปัญหาการเข้าถึงทรัพยากรก็ยังเป็นปัญหาสำหรับผู้บริโภคในหลายประเทศที่ยังไม่มีวี่แววว่าจะคลี่คลายได้ผู้บริโภคจะมองหาแบรนด์ที่ยินดีเข้ามาช่วยเหลือและไม่ทอดทิ้งผู้บริโภคบางกลุ่มไว้เบื้องหลัง
7. PRODUCTIVITY PARADISE
When efficiency and tranquillity converge: หากเรารักโลก ผู้บริโภคก็รักเรา
Trainhugger แพลตฟอร์มจองรถไฟในอังกฤษคือตัวอย่างของธุรกิจด้านการท่องเที่ยวที่พยายามสร้างภาพจำของแบรนด์ที่มุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงโลกผ่านโปรเจกต์ปลูกต้นไม้ทดแทนการปล่อยคาร์บอนจากการเดินทางสำหรับตั๋วรถไฟทุกใบที่ขาย นับเป็นการปลูกฝังให้ผู้คนตระหนักและใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีที่ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง เพราะเจ้าของตั๋วรถไฟทุกใบจะต้องรู้สึก ‘ดีต่อใจ’ ที่ได้ทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อมกลับคืน เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีและน่าจดจำให้กับผู้บริโภคอย่างชาญฉลาด
8. EARTH DEFINITION
Small interventions make a huge difference: เรื่องเล็กที่ใหญ่มหาศาล
รู้หรือไม่? วิดีโอสตรีมมิ่งระบบ HD 4K ที่เราดูกันผ่านหน้าจอมือถือนั้นต้องแลกมาด้วยการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตที่สร้างมลพิษมหาศาล earthday.org ต้องการชักชวนให้แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งหันมาเพิ่มฟังก์ชั่นความคมชัดระดับ ED (Earth Definition) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับชมคอนเทนต์ในระดับความชัดที่สร้างผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุด
ผู้บริโภคมักติดปัญหาเรื่อง ‘ทางเลือก’ ที่ถึงแม้ว่าพวกเขาอยากลดผลกระทบจากการบริโภคมากแค่ไหนก็ทำได้ยาก ดังนั้น แบรนด์ที่สามารถส่งมอบทางเลือกที่ดีกว่าให้ลูกค้าได้ จะเป็นที่จดจำอย่างแน่นอน
JOYNING
Finding meaningful connections in a lonely world: สร้างความสัมพันธ์ในโลกที่ถูกตัดขาด
แม้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าด้วยกัน แต่ทำไมคนทั่วไปยังมองว่าตัวเองเหงาขึ้นเรื่อย ๆ โรคระบาด COVID-19 ทำให้ไลฟ์สไตล์ดิจิทัลขยายตัวอย่างกว้างขวาง รวมทั้งทำลายมาตรวัดความสำเร็จในรูปแบบเดิม เช่น การแต่งงาน มีครอบครัว มีงานที่มั่นคง ในขณะที่ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนต่าง ๆ การช่วยพวกเขาในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายผ่านช่องทางออนไลน์จะเป็นการดำเนินงานเพื่อสังคมที่เป็นประโยชน์มากขึ้นเรื่อยๆ
9. LONELI-LESS
Set the stage for human connection: ‘โลนลี่–เลส’ คนเหงาไม่ต้องเศร้าอีกต่อไป
เก้าอี้ ‘Happy to chat’ คือเก้าอี้ม้ายาวที่ตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะในเมือง Kraków ประเทศโปแลนด์ เก้าอี้นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนให้คนในพื้นที่ได้ทำความรู้จักกัน ถูกออกแบบโดยร้านผลิตเฟอร์นิเจอร์ ‘Fulco System’
นับตั้งแต่ปี 2021 ที่ผ่านมา ผลสำรวจพบว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั่วโลกรู้สึก ‘ว้าเหว่’ ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของภาวะโรคซึมเศร้า จึงเป็นการดีหากธุรกิจต่าง ๆ จะเร่งพัฒนาสินค้าและบริการที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งทางกายและทางใจ ให้กับผู้บริโภค เพื่อช่วยให้พวกเขาได้ให้ค้นพบกับความสุขอันแท้จริง
10. SOCIAL EXPRESS
Neighborhood networking for the digital age: ‘อย่า อยู่ อย่าง อยาก’ ถ้าเหงามาก ยิ่งต้องมีสังคม
Douyin หรือ TikTok ในเวอร์ชันของชาวจีนได้วาง Position ใหม่ในการเป็นแพลตฟอร์มหาคู่ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับผู้ใช้คนอื่นที่อยู่ละแวกใกล้เคียงได้ง่าย ๆ ผ่านการเขย่าโทรศัพท์มือถือ
เทรนด์ตลาดผู้บริโภคขี้เหงากำลังขยายตัวและจะมีบทบาทกับธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆถึงเวลาแล้วที่แบรนด์จะต้องทบทวนกลยุทธ์ปรับโมเดลการตลาดเพื่อ ‘คอนเนค’ ผู้คนบนโลกให้กลับมามีปฏิสัมพันธ์กันด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
11. ALTRUISTIC ALLIANCES
Help your audience help others: สนับสนุนผู้บริโภคให้ได้ช่วยผู้อื่น
บริษัท Travel Hands ให้บริการระบบจับคู่อาสาสมัครกับนักเดินทางผู้พิการ ให้พวกเขาได้อาสาเป็นไกด์พานักเดินทางผู้พิการไปยังสถานที่ต่าง ๆ ภายในเมือง ในอนาคต Travel Hands วางแผนพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันช่วยเหลือที่ใช่เทคโนโลยีระบุตำแหน่ง (Location-based application)
ผู้บริโภคจะมองหาแบรนด์ที่มีความเข้าอกเข้าใจ เห็นใจ และพร้อมที่จะสนับสนุนการเชื่อมต่อระหว่างผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือ
12. PHYGI-FUN
Let’s get this (virtual) party started: ความสนุกบนโลกคู่ขนานเริ่มต้นขึ้นแล้ว
ปลายปี 2021 ที่ผ่านมางาน Electric Daisy Carnival (EDC) งานเทศกาลดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ ได้เพิ่มรูปแบบการจัดคู่ขนานผ่านแพลตฟอร์มเกม Roblox
แพลตฟอร์มเกมออนไลน์ใหญ่ ๆ อย่าง Roblox และ Fornite กำลังกลายเป็นพื้นที่รวมตัวของเหล่าผู้บริโภคนักเล่นเกมจากทั้วทุกมุมโลก กลายเป็นพื้นที่ทางสังคมที่มากกว่าเกม และเป็นต้นแบบสำคัญของการนำ Metaverse ประยุกต์ใช้กับโอกาสทางธุรกิจที่น่าจับตามอง
13. LINK ‘N LEARN
Engaging through peer-to-peer education: เชื่อมต่อและเรียนรู้ไปด้วยกัน
GetSetUp แพลตฟอร์มช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้เชื่อมโยงและมีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน แพลตฟอร์มนี้ถูกสร้างโดยคำนึงถึงการใช้ระบบการใช้งานที่ง่ายและเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุสามารถเปิด/เข้าร่วมห้องเรียน (Class) ต่าง ๆ ได้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์นี้
ในอนาคต ผู้บริโภคจะมีความพร้อมและอยากที่จะเรียนรู้เทคโนโลยี ไม่เว้นแม้กระทั้งผู้สูงอายุ สำหรับผู้ประกอบการ นี่คือโอกาสสำคัญที่จะเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในระบบออนไลน์หากคุณยังไม่ได้เริ่ม
FREEDONISM
Fun as the ultimate fear antidote: เผชิญความหวาดกลัวด้วยความสนุกสนาน
แม้ว่าโลกยุคก่อน COVID-19 จะเต็มไปด้วยภัยอันตรายมากมาย แต่วิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้เป็นภัยคุกคามที่เหนือกว่าทุกวิกฤตที่คนส่วนใหญ่เคยเผชิญมา สิ่งนี้ทำให้ภาวะวิตกกังวลเติบโตขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ท่ามกลางความรู้สึกหดหู่หม่นหมอง ยังมีความหวังที่จะสร้างอนาคตที่ดีขึ้นกว่าเดิม และความต้องการที่จะผ่อนคลายความเครียดและหาความสุขแม้จะเพียงน้อยนิดก็ตาม
ความสนุกเป็นอาวุธสำคัญที่จะเผชิญหน้ากับความกลัว การเล่นคือการปลุกความคิดสร้างสรรค์ แบรนด์ที่ดีจะช่วยให้ผู้บริโภคพบกับความรู้สึกปลดปล่อยจากความกังวลที่ไม่หยุดหย่อนผ่านความสนุกสนาน
14. THRILLS & SKILLS
Fun for learning’s sake: เป็นการเรียนรู้ที่สนุกสุด ๆ ให้ตายเถอะ!
Corona แบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จับมือร่วมกับ Duolingo แอปพลิเคชันสอนภาษา พัฒนาตู้เครื่องดื่มที่สั่งการด้วยเสียง โดยผู้สั่งจะต้องสั่งเครื่องดื่มเป็นภาษาสเปน ผู้ที่ออกเสียงได้ถูกต้องจะได้เครื่องดื่มเป็นรางวัล สำหรับผู้ที่ออกเสียงได้ไม่ถูกต้อง จะได้รับสิทธิ์เข้าใช้แอปพลิเคชันสอนภาษาฟรี 1 เดือน
ความตึงเครียดจากการใช้ชีวิตทำให้ผู้บริโภคมองหา Element ใหม่ ๆ ที่ช่วยสร้างความสนุก แต่การเล่นสนุกที่ว่าไม่จำเป็นต้องไร้สาระเสมอไป ผู้บริโภคยุคใหม่จะมองหาแบรนด์ที่สามารถนำเสนอความสนุกสนาน แปลกใหม่ ตลอดจนช่วยให้ผู้บริโภคสามารถพัฒนาตนเองได้
15. PLAYFUL PIVOTS
Switch things up for good: ปรับเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีกว่า
บริษัทรถโดยสารขนส่งสัญชาติญี่ปุ่น Shinki Bus ได้วางแผนปรับเปลี่ยนการให้บริการบางส่วน โดยนำเอารถโดยสารเก่าของบริษัทมาปรับแต่งทำเป็นซาวน่าแบบเคลื่อนที่ได้ โดยใช้ชื่อโปรเจค ‘Sabus’ มาจากคำว่า Sauna + Bus ปัจจุบัน Sabus ถูกนำไปตั้งเพื่อให้บริการภายในงานเทศกาลหรือกิจกรรมใหญ่ภายในประเทศญี่ปุ่น
ผู้บริโภคแสวงหาแบรนด์ที่สามารถช่วยพวกให้พวกเขาได้ผ่อนคลาย ลองค้นหาปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าหรือบริการเพื่อช่วยให้ลูกค้าได้หลบหนีจากความตึงเครียด และแบรนด์ของคุณจะได้รับการตอบรับที่ดีอย่างแน่นอน
16. YOUTH GOGGLES
A new outlook on life: ทัศนียภาพใหม่แห่งการใช้ชีวิต
LEGO จับมือร่วมกับ Yinka Ilori นักออกแบบชื่อดัง เปลี่ยนร้านซักรีดเก่าให้กลายเป็น Interactive play space ที่ช่วยปลดปล่อยจินตนาการสำหรับเด็ก ๆ ชื่อว่า ‘Launderette of Dreams’
ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ผู้บริโภคจะตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งเดิม ๆ และพยายามค้นหาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยเหตุนี้เองผู้บริโภคจะมองหาแบรนด์สามารถเข้ามาช่วยให้พวกเขาพบความสนุกสนาน พร้อม ๆ กับผลักดันแนวคิดใหม่ ๆ ที่ไม่จำเจ
17. MICRO-MOVEMENTS
Give everyone a slice of the action: ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม
H&M เปิดตัวเสื้อผ้าคอลเลคชัน ‘Co-Exist Story’ แฟชั่นชุดเสื้อผ้าขนสัตว์ที่ทำจากพืชและวัสดุรีไซเคิลแทนขนสัตว์จริง โดยวางจำหน่ายภายในร้านค้าและเกม Animal Crossing: New Horizons ที่ก่อนหน้านี้ H&M ได้เปิดตัว Looop Island หรือเกาะแห่งความยั่งยืนที่ให้ผู้เล่นได้ตระหนักถึงความยั่งยืนและความสำคัญของการรีไซเคิลผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ รีไซเคิลเครื่องแต่งกายเก่า ๆ ของตัวละครภายในเกมเพื่อเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าชนิดใหม่ได้
18. IMMERSIVE INFO
Communication that hits different: การสื่อสารที่มุ่งเป้าอย่างหลากหลาย
Jabu’s Homecoming ละครสั้นที่กล่าวถึงเรื่องราวชีวิตของครอบครัว Mobani ครอบครัวชาวซิมบับเวที่ประสบกับการสูญเสียผู้นำครอบครัวอย่างกะทันหัน ผู้ที่ต้องการติดตามสามารถรับชมได้จากการเข้าร่วม Group Chat ใน WhatApp เพียงเท่านี้ก็จะได้รับข่าวสารและสามารถชม Episode ใหม่ ๆ ได้ทันที
จดหมาย Newsletter และโฆษณา Banner กำลังอยู่ในยุคขาลง ไม่สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้เหมือนสมัยก่อน ในยุคที่การตลาดถึงจุดอิ่มตัว แบรนด์จะต้องละทิ้งแนวคิดแบบเดิมและสร้างสรรค์รูปแบบการสื่อสารแบบใหม่ ๆ ที่ผู้บริโภคคาดไม่ถึง
META-PHYSICAL
An evolved internet: วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
แม้ว่าตอนนี้เราอาจรู้สึกว่าทุกอย่างรอบตัวกลายเป็นดิจิทัลไปหมดแล้ว แต่อินเทอร์เน็ตก็ยังวิวัฒนาการต่อ โลก Physical กับ Digital กำลังจะรวมเป็น 1 เดียว ในขณะที่อินเทอร์เน็ตแห่งอดีตเป็นเรื่องของเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ ก้าวต่อไปของอินเทอร์เน็ตจะถูกนิยามด้วยโลกเสมือน ความเป็นจริงเสมือน และเมตาเวิร์ส ที่จะทำให้โลกดิจิทัลและโลกแห่งความเป็นจริง รวมเป็นหนึ่งเดียวกันในที่สุด
19. PORTALS OF POSSIBILITY
Transport people to new dimensions: พาไปสู่มิติแห่งใหม่
ลืมวิชาแนะแนวแบบเดิม ๆ ไปได้เลย Careers Wales หน่วยงานภาครัฐที่ให้คำปรึกษาวางแผนเส้นทางการทำงาน ได้ริเริ่มโปรเจค CareersCraft – เกมบนโลกเสมือนซึ่งให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปค้นหาจุดแข็ง–จุดอ่อนของตัวเอง ตลอดการเล่นผู้เล่นจะพบกับบททดสอบมากมายและจะได้รับคำแนะนำด้านสายวิชาชีพที่เหมาะสมกับทักษะที่ถูกวิเคราะห์จากการเล่นเกม
Metaverse ไม่ใช่เพียงความสนุกสนาน แต่ยังเป็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของผู้ใช้ ในขณะที่ Metaverse กำลังพัฒนาเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น แบรนด์ต้องค้นหาวิธีการที่จะเพิ่มการใช้ประโยชน์จากมัน
20. YOU-TOPIA
Help build a fairer Web 3.0: ช่วยสร้างเว็บ 3.0 ที่มีความยุติธรรมมากขึ้น
ในยุคของการให้บริการอินเทอร์เน็ต Web 3.0 ที่ไม่มีที่รวมศูนย์ (Decentralized) ผู้บริโภคจะมองหาและสนับสนุนแบรนด์ที่พยายามสร้างความเสมอภาคในโลกดิจิทัล
The Fabricant Studio แพลตฟอร์มออกแบบ ซื้อ/ขาย เสื้อผ้าแฟชั่นบนโลกดิจิทัล –โดยผู้เล่นไม่จำเป็นต้องมีทักษะด้านการออกแบบ 3D โดยผู้ใช้งานสามารถนำเสื้อผ้าแฟชั่นที่ออกแบบมาขายแลกเปลี่ยนเป็นเหรียญดิจิทัลสกุล $FBRC (สกุลเหรียญของแพลตฟอร์ม) ได้ และสามารถซื้อชุดเสื้อผ้าดิจิทัลที่ออกแบบจากผู้เล่นคนอื่น ๆ ได้จาก Marketplace ภายในแพลตฟอร์มนี้เช่นเดียวกัน
21. PSYCH-E
Virtual therapy with real-world benefits: การบำบัดบนโลกเสมือนที่ก่อประโยชน์ในชีวิตจริง
EndeavourRx คือวิดีโอเกมช่วยบำบัดโรคสมาธิสั้นในเด็ก (ADHD: Attention Deficit Hyperactivity Disorder) ที่วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา ตัวเกมถูกพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่างนักพัฒนาเกมและนักประสาทวิทยา เพื่อนำมาใช้รักษาอาการผิดปกติทางสมองของเด็ก
ในขณะที่เรากำลังมุ่งเข้าสู่การพัฒนาโลก Metaverse ผู้บริโภคคาดหวังว่าการรักษาด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ๆ จะได้รับการยอมรับและถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้น คุณสามารถนำเครื่องมือบนโลกเสมือนมาช่วยผู้บริโภคในโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างไร
22. DIDACTIC DYSTOPIAS
Tough love goes virtual: เรียนรู้ผ่านโลก (เสมือน) อันเลวร้าย
ถ้าโลกนี้ไม่มีแมลงจะเกิดอะไรขึ้น? Pollinator Park พิพิธภัณฑ์บนโลกเสมือนจำลองโลกที่ปราศจากแมลง ผู้ใช้งานจะได้ศึกษาเรียนรู้ถึงความสำคัญของแมลงต่อการเจริญเติบโตของพืชพรรณต้นไม้ต่าง ๆ บนโลกของเรา ผ่านการจำลองอนาคตอันเลวร้าย (Dystopia) เพื่อสร้างการตระหนักรู้และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
อนาคตต่อจากนี้ แบรนด์ต่าง ๆ จะเริ่มหันมาใช้ Metaverse เพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ดีขึ้น โดยทำให้พวกเขาได้มองเห็นโลกจากมุมมองใหม่ ๆ
22 Consumer trend opportunities for 2022
www.trendwatching.com/22-trends-for-2022#state-of-place | march 2022