สรุปแบรนด์ตัวอย่าง ที่ปรับตัวเพื่อสิ่งแวดล้อม
The(un)Willing Green : ฉัน(ต้อง)รักสิ่งแวดล้อม Part 2
.
จากครั้งที่แล้วที่เราย้อนกลับไปทำความเข้าใจ
การพัฒนาของเทรนด์ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ในแต่ละยุคสมัยใน ‘The(un)Willing Green : ฉัน(ต้อง)รักสิ่งแวดล้อม Part 1’
อ่านได้ที่ https://bit.ly/33dJ27T
.
‘การใส่ใจสิ่งแวดล้อม’
กำลังจะกลายเป็น A Must Thing
เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ
ผู้บริโภคจะ ‘เลือก’ สินค้าและบริการ
ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-consumption)
ประเด็นนี้จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจ
บริษัทต้องใส่คุณค่าด้านการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม
ลงไปในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภค
ตอนนี้มีแบรนด์ไหนที่ปรับตัวตามเทรนด์สีเขียวนี้แล้วบ้าง มาดูกันค่ะ
#TATReviewMagazine

PATAGONIA
‘แบรนด์เสื้อผ้าที่โฆษณาว่าอย่าซื้อเสื้อของแบรนด์ตนเอง’
แบรนด์เสื้อผ้า Patagonia
ทำแคมเปญโฆษณา ‘Don’t buy this jacket’
ลงบนนิตยสาร The New York Times
โดยบอกเล่าถึงผลกระทบที่แบรนด์ทำต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมทั้งคำปฏิญาณของแบรนด์
ที่จะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
ผลปรากฎว่า ยอดขายของแบรนด์
เติบโตขึ้นกว่า 40% หลังปล่อยแคมเปญนี้
KLM
‘เมื่อสายการบินเสนอทางเลือกที่รับผิดชอบและดีกว่า’
สายการบิน KLM จัดตั้งโครงการ ‘The Fly Responsibly’
นำเสนอเที่ยวบินที่คำนึงถึงการปล่อยคาร์บอนในการเดินทาง
เช่น เที่ยวบินที่มีบริการจ่ายชดเชยการปล่อยคาร์บอน
หรือเที่ยวบินที่มี Carbon Footprintอต่ำ
จากการดำเนินโครงการนี้
ทำให้ได้ปลูกป่าในปานามาไปแล้วกว่า 7.5 ล้านต้น
DOCONOMY ร่วมกับ Mastercard
ออกบัตร The DO Mastercard
The DO Mastercard เป็นบัตรเครดิตที่ช่วยจำกัด
การใช้จ่ายที่สร้าง Carbon Footprint
โดยสามารถติดตามการซื้อสินค้าและบริการที่สร้างคาร์บอน
และจ่ายเงินให้โครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบ
หากใช้จ่ายถึงยอดสูงสุด (Personal carbon emission budget)
บัตรจะบล็อกการใช้จ่ายจนกว่าจะถึงรอบบิลใหม่
นอกจากนั้น ตัวบัตรเครดิตยังทำจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ 100%
ตัวอักษรพิมพ์ด้วยหมึกที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิล
บริษัทคาดว่าจะลดปริมาณมลพิษได้กว่า 50% ภายใน 2030
ARCTIC BRANDS GROUP
‘สร้างมาก จ่ายมาก
สร้างน้อย จ่ายน้อย’
Arctic Blue Resort รีสอร์ทหรูสร้างด้วยวัสดุจากธรรมชาติ และใช้พลังงานจาก
แหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียน(Renewable Energy)
คิดค่าบริการจากปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon
Footprint) ที่ผู้เข้าพักก่อขึ้นระหว่างใช้บริการ
ดำเนินการในรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ (Eco-tourism-focused Resort)
ซึ่งนับเป็นต้นแบบที่น่าสนใจของโรงแรมเพื่อความยั่งยืนในอนาคต
BURGER KING UK
‘เอาของเล่นเก่ามาหลอมแลกฟรีของกิน’
Burger King UK ทำแคมเปญ ‘Melt down’
ให้คนเอาของเล่นเก่ามาหลอมละลาย เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นพื้นที่ Interactive Play Area หรือสินค้าที่ใช้ภายในร้าน
เช่น ถาดอาหารเพื่อการเรียนรู้ (Interactive Tray)
ลูกค้าคนไหนที่เอาของเล่นมาหยอดตู้หลอม
จะได้รับชุดอาหาร King Junior ฟรีเมื่อสั่งเมนูผู้ใหญ่
เชื่อว่าแคมเปญนี้จะช่วยลดปริมาณพลาสติก
แบบใช้แล้วทิ้งปีละประมาณ 320 ตัน