วิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ถือเป็นหมุดใหญ่หมุดหนึ่งที่จะโดดเด่นอยู่บนไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์โลก เพราะไวรัสนี้ ทำให้ผู้คนต้องปรับตัวเข้าสู่การดำรงชีวิตในวิถีใหม่ (New Normal) ทั้งงดและถูกจำกัดการเดินทาง กักตัวอยู่บ้าน ใส่หน้ากากอนามัยเกือบตลอดเวลา ล้างมือเป็นกิจวัตร และการรักษาระยะห่างระหว่างกัน (Social Distancing)
เมื่อเกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่รวดเร็ว ฉับพลัน และยิ่งใหญ่ กระแสคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงก็ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และโถมเข้ากระทบทั้งไลฟ์สไตล์ของผู้คน ไปจนถึงธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
บางอย่างถูกคลื่นนี้โถมเข้าใส่อย่างหนักหน่วง
บางอย่างก็มีคลื่นนี้เป็นแรงหนุนสำคัญที่เข้ามาช่วยเร่ง
แล้วคลื่นที่เกิดขึ้นโดยมีวิกฤตการระบาดของ COVID-19 เป็นต้นเหตุนี้ หนุนนำเทรนด์อะไรจนรุ่ง หรือซัดสาดเทรนด์อะไรจนร่วงบ้าง ตามมาดูกัน

เทรนด์รุ่ง
: การกักตัวอยู่บ้าน ทำให้ธุรกิจอาหารจัดส่งถึงบ้านกลายเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งนอกจากร้านอาหารจะปรับตัวมาทำในรูปแบบนี้แล้ว โรงแรมและสายการบินก็ยังหันมาหารายได้เสริมจากธุรกิจประเภทนี้ด้วย
: ตลาดค้าปลีกออนไลน์ กลายเป็นช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค เมื่อต้องกักตัวอยู่บ้าน จึงมีการเติบโตที่น่าสนใจ
: การแคมป์ปิ้งตามสถานที่ธรรมชาติ ไปจนถึงอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะตอบโจทย์การรักษาระยะห่างทางสังคม แถมยังได้สูดอากาศบริสุทธิ์ท่ามกลางธรรมชาติอีกด้วย
: กลุ่มคนเจนเนอเรชันทั้ง Y และ Z จะกลายเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาแรง โดยข้อมูลจาก Deloitte Insights ระบุว่าในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา กลุ่มอายุ 18 – 34 ปี เป็นกลุ่มที่มองหาซื้อดีลท่องเที่ยวผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด
: สื่อบันเทิงและศิลปะที่เจาะกลุ่มคนอยู่บ้านมากขึ้น เช่น การจัดคอนเสิร์ตแบบเสมือนจริง เดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์แบบเสมือนจริง หรือการลงทุนทำสตรีมมิ่งคอนเทนท์ผ่าน OTT TV เช่น Netflix ที่ลงทุนทำ Original Content มากที่สุดในตลาด
: กระแสที่มาควบคู่กับความยั่งยืน ก็คือการเกษตร ที่ประยุกต์ดัดแปลงเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือเป็นมากกว่าการเกษตรแบบดั้งเดิม เช่น ร้านกาแฟในทุ่งนา บุฟเฟต์ไร่ผลไม้ ร้านชาพรีเมียมในไร่ชา และฟาร์มสเตย์ เป็นต้น
เทรนด์ร่วง
: เนื่องจากการท่องเที่ยวบนเรือสำราญเป็นสถานที่ปิด และใช้เวลาเดินทางนาน ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส
: การเดินทางหยุดชะงัก เนื่องจากมาตรการปิดประเทศ ทำให้สายการบินหันมาพึ่งการขนส่งสินค้า และธุรกิจอื่น ๆ แทน
: คนสูงวัยเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อ COVID-19 แล้วได้รับผลกระทบที่รุนแรง/ร้ายแรงมากกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น ๆ ทำให้เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวสูงวัยมีแนวโน้มฟื้นตัวยากที่สุดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และบริษัทประกันมีแนวโน้มจะไม่อนุมัติการเดินทาง เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง
: อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่หยุดชะงัก ทำให้หลายฝ่ายหันมาตระหนักถึงปัญหาภาวะนักท่องเที่ยวล้นเมืองหรือ Overtourism ที่เป็นปัญหาใหญ่ก่อนหน้านี้ จนเกิดปัญหาระบบนิเวศน์และประชาชนท้องถิ่นถูกรบกวน โดยจะใช้ช่วงเวลาที่เงียบสงบ วางแผนป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นอีก
: ธุรกิจโรงแรมและที่พัก เป็นธุรกิจที่พึ่งพาเงินทุนหมุนเวียนจำนวนมาก การหยุดชะงักของการท่องเที่ยว ส่งผลให้ผู้ทำธุรกิจรายย่อยจำนวนมากขาดสภาพคล่อง และยากที่จะฟื้นตัวกลับมาได้
: ทัวร์เป็นกลุ่ม การเดินทางท่องเที่ยวแบบซื้อแพคเกจไปกันเป็นกลุ่มที่สุ่มเสี่ยงต่อโรคระบาด อาจไม่ได้รับความนิยมไปอีกสักพักใหญ่ และเช่นเดียวกันกับธุรกิจโรงแรม ถ้าการท่องเที่ยวหยุดชะงัก ธุรกิจรายย่อยก็มีทุนหมุนเวียนน้อยลง ทำให้ใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวกลับมา