การเติบโตแบบก้าวกระโดดของธุรกิจ E-Commerce และอัตราการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลที่พุ่งสูงขึ้นในช่วง COVID-19 กำลังผลักดันเราเข้าสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’ หรือ ‘Cashless Society’
เมื่อสมาร์ทโฟนกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ความสะดวกกลายเป็นค่านิยมที่คนรุ่นใหม่ยึดถือ
ระบบชำระเงินออนไลน์ผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) จึงกลายมาเป็นวิถีปกติอย่างเลี่ยงไม่ได้
ธุรกรรมการเงินถูกเคลื่อนย้ายไปไว้บนระบบดิจิทัล ต่อไปเราแทบไม่ต้องไปธนาคารอีกแล้ว
จึงเป็นที่น่าจับตามองว่านานาประเทศกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ Cashless Society อย่างไร
โดย GlobalData คาดการณ์ว่าประเทศที่มีศักยภาพอันดับต้นๆ จะไปถึงจุดนั้นก่อนเพื่อน
#TATReviewMagazine
สวีเดน
สวีเดนเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ผลิตธนบัตร และจะเป็นสังคมไร้เงินสดที่แรกในปี 2023 ปัจจุบัน E-Commerce เกือบทั้งหมดในสวีเดนเป็นระบบดิจิทัล มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ชำระด้วยเงินสด นอกจากนั้น รัฐยังสนับสนุนโครงการผลิตสกุลเงินดิจิทัล ‘E-Krona’ ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ
ข้อมูลจาก Global Payments Trends Reports โดย J.P. Morgan ชี้ว่าสแกนดิเนเวียเป็นภูมิภาคแห่งสังคมไร้เงินสดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยี และผู้คนมีความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินสูง ทำให้สังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นได้จริงในภูมิภาคนี้
ฟินแลนด์
อีกหนึ่งประเทศในแถบสแกนดิเนเวียที่มีความพร้อมอย่างมาก คือ ฟินแลนด์ ซึ่งมีอันดับการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลอยู่ในระดับต้น ๆ ของโลก เช่น การใช้บัตรเครดิตหรือเดบิต (อยู่ที่อันดับ 2 ) การทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ (อยู่ที่อันดับ 3) และการใช้จ่าย E-Commerce คิดเป็นร้อยละของ GDP (อยู่ที่อันดับ 5) จำนวนประชากรที่มีเพียง 5.5 ล้านคนก็มีผลให้บทบาทของเงินสดลดลงเรื่อยๆ
สหราชอาณาจักร
UK Finance เผยว่าจำนวนคนที่ใช้ชีวิต ‘เกือบจะไร้เงินสด’ เพิ่มขึ้นสองเท่าภายใน 2 ปี ถึง 7.4 ล้านคน และคาดว่าการชำระเงินด้วยเงินสดเหลือจะเพียงร้อยละ 9 ในปี 2028
สหราชอาณาจักรมีการใช้จ่ายทาง E-Commerce คิดเป็นร้อยละต่อ GDP อยู่ที่อันดับ 2 ของโลกรองจากจีน และพร้อมปรับตัวสู่สังคมไร้เงินสดได้เร็ว เพราะมีกรุงลอนดอนเป็นศูนย์กลางด้าน Fintech ของโลก ผู้คนส่วนใหญ่จึงคุ้นเคยกับการชำระเงินแบบไร้สัมผัส
จีน
การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในจีนมีการพัฒนาอย่างมาก วิธีที่นิยมที่สุดคือ การสแกน QR Code ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba และ Tencent
ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 เป็นตัวเร่งให้รัฐบาลจีนเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัล ‘หยวนดิจิทัล’ ที่นำร่องใช้ใน 4 เมืองใหญ่ ได้แก่ เซินเจิ้น ซูโจว สงอัน และเฉิงตู ร่วมกับร้านแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มชั้นนำ แม้ยังไม่เห็นผลชัดแต่จีนเชื่อว่าการชำระเงินดิจิทัลจะเป็นประตูสู่ Ecosystem ขนาดใหญ่ของสินค้าและบริการ ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
อย่างไรก็ตาม GlobalData ยังมองว่าสังคมไร้เงินสดในจีนจะเกิดขึ้นช้ากว่าประเทศอื่น เพราะมีขนาดประชากรจำนวนมาก
เกาหลีใต้
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน เกาหลีใต้พร้อมที่จะเป็นสังคมไร้เงินในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ครองแชมป์สังคมไร้เงินสดของทวีปเอเชีย
ธนาคารกลาง ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ ร่วมกันลดการใช้เงินสดมาตั้งแต่ปี 2017 ในปี 2020 Kakao Pay มียอดผู้ใช้งานกว่า 34 ล้านคน ไม่นานมานี้ T-money ผู้ผลิตบัตรสมาร์ทการ์ดของเกาหลีใต้ ก็ได้ทดลองใช้การสแกนใบหน้าชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินแทนการแตะบัตร
ผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือของเกาหลีใต้ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 5.6 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะสูงถึง 156 ล้านล้านบาทในปี 2024
Thailand toward Fintech World
สำหรับประเทศไทย แม้มีการทำธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือมากขึ้น มีโครงการกระตุ้นจากภาครัฐ เช่น ‘คนละครึ่ง’ ‘เราชนะ’ ‘ชิม ช้อป ใช้’ และ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นเป็นสังคมไร้เงินสดอย่างแท้จริง เพราะบางสินค้าและบริการยังไม่รองรับการชำระเงินดิจิทัล
ไทยจึงพยายามหาลู่ทาง โดยพูดถึงความเป็นไปได้ในการดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเข้ามาหลังสถานการณ์ COVID-19 สิ้นสุด เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีศักยภาพการใช้จ่ายสูง และนิยมใช้จ่ายด้วยเงินดิจิทัล
มา Update ความรู้ใหม่ ๆ ไปพร้อม ๆ กันกับ
TAT Review Magazine Vol.7 No.2 April – June 2021 | Consequences โปรดติดตามตอนต่อไป
ได้ที่นี่เลย Click https://bit.ly/3mTtrUz